top of page

SACC-TSAC 2019

สมาชิกตีปีกร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการในงาน

SACC-TSAC 2019
ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

การประชุมวิชาการนักเรียนไทยในยุโรป (Thai Student Academic Conference: TSAC) ครั้งที่ 8นี้จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2562 โดยในปีนี้ได้จัดงานร่วมกับงานประชุมวิชาการของสามัคคีสมาคมในพระราชูปถัมภ์ (Samaggi Academic Conference:SACC) ครั้งที่ 11 ภายใต้ชื่อ “11th Samaggi Academic Conference and Careers Fair and the 8th Thai Student Academic Conference“ (SACC-TSAC 2019) ซึ่งรูปแบบงานประกอบไปด้วยการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การประกวดบทคัดย่อ และบูธสมัครงาน 

หัวข้อในการประชุมปีนี้คือ “Dare to disruptand develop towards being the world’s leader” มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียน นักวิจัย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมกันพัฒนาประเทศไทยไปสู่ระดับสากล และสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ วันแรกของการประชุม (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562) งานเริ่มอย่างเป็นทางการด้วยการกล่าวเปิดงาน โดย นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นนาย      นราวิทย์ นรคิม นายกสมาคมสามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน และต้อนรับแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน ตามมาด้วยการปาฐกถาพิเศษจาก นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ในหัวข้อ “What could be improved on Thailand Current Education to create a Workforce ready for Disruptiveness?” และ ดร. มาณพ สิทธิเดช อัครราชทูตที่ปรึกษา ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม ได้บรรยายในหัวข้อ “Policy and Projects on Science Technology and Innovation of Thailand” รวมทั้งโครงการและกิจกรรมที่สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนตามนโยบายที่ผ่านมา

 

จากนั้น มีการนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักเรียนไทยในรูปแบบการบรรยาย โดยในงานได้แบ่งการนำเสนอผลงานตามสาขาประกอบไปด้วย 4 สาขาหลักด้วยกัน โดยแยกการนำเสนอเป็น 2 ห้อง ได้แก่ สาขา Medical Science and Pure Science สาขา Behavioural Science and Social Science ในช่วงแรก ขั้นด้วยการนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ ต่อด้วยช่วงที่สองของการนำเสนอในรูปแบบการบรรยาย ได้แก่ สาขา Engineer and Technology และ Economics, Business, Finance, Political Science and Law

การประชุมในวันที่ 2 (วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562) เป็นการบรรยายและการปาฐกถา โดยวิทยากรรับเชิญพิเศษจากทั้ง ภาควิชาการ ภาครัฐและเอกชน เริ่มด้วยท่านแรก ดร.ชินพัฒน์ พันธ์วิศวาส ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเอง การบริหารเวลา และงานวิจัย สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี โท และเอก รวมไปถึงการทำงานร่วมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้เกิดความราบรื่นไปจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา จากนั้นเป็นการกล่าวเปิดงานโดย นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และนายนราวิทย์ นรคิม นายกสมาคมสามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามด้วยปาฐกถาเปิดการประชุมผ่านวีดีโอจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จากนั้น นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Creating New Charms to Promote Sustainable Tourism and Hospitality in Thailand” โดยมีใจความว่า กระทรวงการท่องเที่ยงและกีฬาได้สร้างสรรนโยบายใหม่เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการท่องเที่ยวไทย โดยให้มีการกระจายแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีไปยังสถานที่ต่างๆที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ไม่เพียงแต่ทำให้ต่างจังหวัดเป็นที่รู้จักมากขึ้นแต่ยังทำให้เขตหรือเมืองเล็กๆกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างทั่วถึงอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังเน้นย้ำนโยบายให้เกิดความสุขใจทั้งเจ้าบ้าน และนักท่องเที่ยว โดยให้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีและรูปแบบเดิมๆของท้องถิ่นให้น้อยที่สุด เพื่อเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ และเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆสืบไป

 

ในลำดับถัดไป เป็นการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิเช่น ดร.ชุติมา หาญเผชิญ รองเลขาธิการ ก.พ. ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการภาครัฐ และความต้องการกำลังคนของหน่วยงานภาครัฐในสาขาต่างๆ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ตามมาด้วยการบรรยายพิเศษ โดย ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการไบโอเทค ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อ “Thailand’s Frontier Research” ซึ่งเป็นทิศทางโครงการ และงานวิจัยซึ่งจะสามารถนำพาประเทศไทยให้เป็นประเทศผู้นำได้ตามเป้าหมาย “Thailand 4.0” จากนั้นมาต่อกันที่ความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของโลกปัจจุบัน และงานในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจากผลพวงของการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัลในหัวข้อ “Digital Disruption and Jobs for the Future” โดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นอกจากนี้ ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข ได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณะสุข มาให้ความรู้เกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพของไทยในปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งจะทำให้คนไทยเข้าถึงสวัสดิการ การดูแลสุขภาพ และการรักษาพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทั่วถึง ปิดท้ายด้วยการบรรยายจากทางภาคเอกชน โดย นายอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการบริษัท LINE  ประเทศไทย กล่าวถึงพลังของเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงประเทศไทย และจะเปลี่ยนหรือสามารถเปลี่ยนประเทศไทยเป็นอย่างไรในอนาคต จากนั้นเป็นช่วงแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้บรรยายในประเด็นปัญหาจากพิธีกร และผู้เข้าร่วมงาน ในหัวข้อ “Dare to Disrupt and Develop Towards Being the World’s Leader” 

ในวันสุดท้ายคืองาน Careers Fair (วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562) หน่วยงานไทยและบริษัทเอกชนได้เปิดบูธประชาสัมพันธ์การรับสมัครงาน สัมภาษณ์งาน และเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา รวมถึงผู้สนใจงานในไทยได้สอบถามข้อมูลอย่างใกล้ชิด 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการครั้งนี้ ทำให้นักเรียนไทยได้มีโอกาสฝึกทักษะในการนำเสนอผลงานทางวิชาการของตนเอง พร้อมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในหลากหลายสาขา รวมไปถึงได้รับทราบทิศทางและเป้าหมายของการพัฒนาประเทศไทยที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน นอกจากนี้ การประชุมในครั้งนี้ก่อให้เกิดเครือข่ายระหว่างนักเรียนที่กว้างขวางขึ้นซึ่งอาจจะเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป

52396223_758613727845619_322270685775999
51952975_307377963299108_767809198971944
1550253505945.jpg
20190216_111348.jpg
52354559_1295350543936667_14576873158695
51993406_1474900809314108_48588875125982

Reported by

Chiraphat Kumpidet

Head of TPIEC Public Relations (PR)

Chiraphat.jpg
bottom of page