top of page

ผมคุยเรื่องหุ่นยนต์

กับ TPIEC chatbot

เรื่องราวโดย ปิยภัทร สราญฤทธิชัย (ชาญ)

สร้างสรรค์โดย พรชณา กวีญาณ (ติก), อรรัมภา ศรีมงคลกุล (อร)

 

December, 2020

Logo_only_image.png

เราคือตีปีกแชทบอท เราอยากรู้จักนาย นายชื่อไรอะ

 ผมชื่อชาญครับผม

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

นายเป็นคนที่ไหน

ผมเกิดที่ขอนแก่นครับแต่ตอนนี้ผมย้ายมาอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ได้ 6 ปีละฮะ

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

นายทำอะไรอยู่ที่นั่น

ตอนนี้ผมได้รับทุนการศึกษาจากบริษัท Bosch มาเรียนต่อปริญญาเอกด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

แล้วนายจบปริญญาตรี/โทที่นี่ด้วยหรือเปล่า

ผมเรียนป.ตรีที่วิศวะคอมพ์จุฬา หลังจากนั้นก็ไปต่อโทที่อังกฤษ เรียนคอมพ์สาย AI ที่ Imperial College London ครับ

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

ดูจากโปรไฟล์นาย ท่าทางนายจะชอบทางด้านคอมพิวเตอร์นะเนี่ย

ก็คงงั้นมั้งครับ ตอนเด็กๆ ผมชอบพวกโจทย์แก้ปัญหา เช่น พับกระดาษเป็นรูปสัตว์ ต่อโมเดลไม้ เล่นเกมส์ 24 หรือดูการ์ตูนนักประดิษฐ์รุ่นจิ๋ว เดกซ์เตอร์

person-flat-128x128.png

พอโตขึ้นมาหน่อยผมก็ชอบคณิตศาสตร์ และการเขียนโปรแกรม

person-flat-128x128.png

เริ่มจากวันนึง ผมเข้าไปที่ห้องสมุดแล้วเห็นเพื่อนแก้โจทย์เลขด้วยการเขียนโปรแกรมอยู่ ผมเลยลองบ้างแล้วสนุกดี นี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สนใจทางด้านนี้

person-flat-128x128.png

โชคดีตอน ม. ปลาย ผมมีเพื่อนๆสนใจด้านคอมพิวเตอร์เหมือนกัน เลยได้ทำโปรเจคหลายอย่างกับเพื่อน

person-flat-128x128.png

เช่น เขียนเกมส์เพื่อลงแข่งขันงานจัดประกวดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับมัธยม

person-flat-128x128.png

พวกผมเขียนเกมส์ The Legend of Gulbia และได้รับรางวัลชนะเลิศด้วย เป็นรางวัลแรกในชีวิตผมเลย ทำให้ผมชอบด้านนี้มาตลอด

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

ตอบยาวเชียว  ว่าแต่นายมีลิงค์มั้ย เราอยากลองไปเล่น

เขินจัง อะ มันอาจจะไม่ได้เจ๋งอะไรมากนะคับ ก็มันตั้งสิบกว่าปีแล้ว http://modps5.lib.kmutt.ac.th/services/learning/sci_game2/Game04_preload.html

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

แล้วยังไงต่อ ชีวิตนาย

แล้วผมก็หันมาชอบคุณไงครับ <3

Logo_only_image.png

ฮะ อะ... อะไรนะ

ตอนเข้ามหาวิทยาลัย ผมก็เริ่มหันมาสนใจหุ่นยนต์หน่ะครับ

Logo_only_image.png

อ่อ นึกว่าจะมองหน้ากันไม่ติดซะแล้ว... อะเล่าต่อได้

person-flat-128x128.png
person-flat-128x128.png

แล้วผมก็มาทางนี้ยาวเลย ผมได้ไปฝึกงานและทำงานที่ Institute of Space Systems, German Aerospace Center (DLR) 

person-flat-128x128.png

ทำงานเกี่ยวกับระบบนำทางทางของหุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับงานด้านอวกาศ

person-flat-128x128.png

ต่อมาผมก็ย้ายมาทำงานที่ Robert Bosch GmbH ตำแหน่ง Development Engineer หน้าที่หลักๆในการทำงานคือระบุตำแหน่งและทำแผนที่ให้รถยนต์ไร้คนขับครับ

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

เดี๋ยวนะ นายทำเกี่ยวกับอวกาศ แล้วมาทำรถยนต์ไร้คนขับได้ยังไงล่ะ

งั้นผมขอท้าวความเลยนะ ตอนที่ผมเรียนป.ตรีอยู่ ผมเข้าไปอยู่ชมรมหุ่นยนต์

person-flat-128x128.png

ตอนนั้นผมก็ทำระบบระบุตำแหน่งของหุ่นยนต์ในบ้าน เลยมีพื้นฐานเรื่องระบุตำแหน่งไปใช้กับพาหนะอื่นๆได้

person-flat-128x128.png

ถึงแม้หุ่นยนต์บนอวกาศกับรถยนต์บนถนนจะดูคนละโลกกัน แต่เค้าก็อยากรู้ว่าตัวเองอยู่ไหนเหมือนกัน

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

แล้ววันๆนายทำอะไรบ้าง ที่ว่าทำงานเกี่ยวกับรถยนต์ไร้คนขับ

ผมต้องเล่าก่อนว่า ทีมของผมที่ทำงานจะประกอบไปด้วยคนหลากหลายมาก บางคนจบทางด้านฟิสิกส์ วิศวะสำรวจ หุ่นยนต์ การเขียนโปรแกรมบนคลาวด์

person-flat-128x128.png

หน้าที่หลักๆของทีมผมเลยคือ  เขียนอัลกอริธึม และ เช็คว่าถูกต้องตาม Requirements มั้ย แล้วก็เอาไปทดสอบกับข้อมูลที่เก็บมา

person-flat-128x128.png

จากนั้นก็ลองสร้างแผนที่กัน โดยเทียบกับแผนที่อ้างอิงว่าวิธีเราแม่นยำแค่ไหน

person-flat-128x128.png

ถ้าแผนที่แม่นพอเราก็จะเอาไปใช้ช่วยระบุตำแหน่งบนรถยนต์จริงได้

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

แล้วนายว่า ใครๆก็สามารถทำงานนี้ได้มั้ย

 ผมว่าใครๆก็เข้ามาทำได้นะ

person-flat-128x128.png

ก่อนอื่นเลยผมว่าพื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับฟิสิกส์เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความน่าจะเป็นกับความเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่ของวัตถุ

person-flat-128x128.png

แล้วเราก็ควรออกแบบซอฟแวร์ได้

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

ใครๆก็ทำได้อย่างที่นายว่าจริงๆ -_-

(^.^)

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

แล้วอะไรที่นายคิดว่ายากหรือท้าทายบ้าง หรือไม่มี

มีสิ

person-flat-128x128.png

อย่างแรกเลยคือ Feedback Loop ของการพัฒนา Industrial Setting จะนานหน่อย

person-flat-128x128.png

กว่าสิ่งที่เราพัฒนาจะนำมาใช้ในโลกความเป็นจริงอาจจะต้องรอเป็นปีๆ เพราะว่าสินค้าเหล่านี้ต้องแม่นยำมากๆ

person-flat-128x128.png

อีกอย่างที่ท้าทายคือ คนเราสามารถคิดอัลกอริธึมสำหรับรถไร้คนขับแค่จากมุมมองของเรา ซึ่งมันเป็นเพียงส่วนเล็กๆของโลกความเป็นจริง

person-flat-128x128.png

โลกของเราอาจมีความซับซ้อนกว่านั้นมาก เช่น ป้ายบอกทางเบี้ยว สีถลอก หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้เราต้องมีงานวิจัยเพื่อพัฒนาอัลกอริธึมไปเรื่อยๆ

person-flat-128x128.png

ดังนั้นงานสายนี้จะต้องมีการอัพเดตความรู้ตลอดเวลาเพราะงานวิจัยสายนี้มีมาใหม่ได้ทุกวินาที

person-flat-128x128.png

เราต้องหมั่นศึกษางานคนอื่นและนำมาพัฒนาอัลกอรึธึมของเรา

Logo_only_image.png

อ้าวแล้วอย่างนี้ รถยนต์ไร้คนขับจะมาเมื่อไหร่ล่ะ

นั่นน่ะสิ

person-flat-128x128.png
person-flat-128x128.png

จริงๆเราก็เริ่มเห็นว่ามีบางบริษัทนำรถยนต์ไร้คนขับออกมาทดสอบบ้างแล้ว

person-flat-128x128.png

รถยนต์ไร้คนขับก็มีหลายระดับนะ ไร้คนขับแบบบางส่วน เช่น ระบบ Auto Pilot ที่ใช้ได้บนบางเส้นทางก็เริ่มมีมาให้เห็นแล้ว

person-flat-128x128.png

แต่ถ้าจะเอาระดับเทพสุด ก็คงน่าจะอีกนาน และคงมีประเด็นอื่นเข้าเกี่ยวข้องอีก เช่น จริยธรรมต่างๆ หรือ Moral Machine

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

แล้วความรู้สายนาย ถ้าเราไปเรียนมาแล้วไม่ได้ใช้กับการทำรถไร้คนขับ ไปใช้ทำอย่างอื่นได้เปล่าอะ

ถ้าเรามาวิเคราะห์ดูกันดีๆนะ หุ่นยนต์ปกติก็อยากมีระบบนำทางเหมือนกันใช่มั้ยละ

person-flat-128x128.png

นอกจากงานสายรถยนต์แล้ว แนวคิดการนำทางอัตโนมัติของรถไร้คนขับก็เอาไปใช้อุตสาหกรรมอื่นๆได้ เช่น หุ่นยนต์ส่งของภายในอาคาร หรือ ทางอากาศ

person-flat-128x128.png

ผมก็เคยคิดนะว่าถ้าผมไม่ทำทางด้านรถยนต์แล้วผมก็อาจจะไปทำงานด้านหุ่นยนต์ส่งของเหมือนกัน

person-flat-128x128.png

หรืออาจจะไปทำงานเกี่ยวกับด้านการวิเคราะห์ภาพ ใช้ทักษะที่มีประมวลผลความน่าจะเป็น ในระบบนำทางต่างๆ

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

แล้วนายเบื่อหรอ ทำไมออกมาเรียนต่อ

จริงๆ ผมตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาเอกอยู่แล้ว ซึ่งตอนนี้ก็เป็นเวลาและโอกาสที่ดี

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

เออใช่ นายบอกว่าได้ทุนจากบริษัทที่นายทำงานใช่มั้ย

ถูกต้องฮะ ผมขอเข้าสู่โหมดจริงจังนะฮะ

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

อนุญาตครับ

(--'')

person-flat-128x128.png

ปกติแล้วคนที่จบป.เอกก็ทำงานวิจัยที่ตัวเองสนใจใช่มั้ย แต่หลายงานวิจัยอาจจะไม่ได้มีผลต่อ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

person-flat-128x128.png

ดังนั้นจึงเกิดป.เอกที่เรียกว่า Industrial PhD ขึ้นเพื่อให้คนที่จบมานำความรู้มาใช้กับอุตสาหกรรมง่ายขึ้น 

person-flat-128x128.png

โดยทั้งบริษัทและตัวผู้เรียนเองต่างก็ได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยที่มีโอกาสนำไปใช้กับสินค้าปัจจุบันหรืออนาคต

person-flat-128x128.png

ส่วนผู้เรียนก็มีแรงจูงใจที่จะทำงานวิจัยเนื่องจากบริษัทสามารถนำสิ่งที่เราค้นคว้าไปใช้ได้จริง และเพิ่มโอกาสที่จะได้ตำแหน่งงานหลังเรียนจบ

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

แล้วเรียนปกติมั้ย หรือเรียนกับบริษัทล่ะ

ป.เอกก็จะอิงกับมหาวิทยาลัยตามปกติแหละ จะมีที่ปรึกษาจากมหาลัยกับจากบริษัทอย่างละคน ตัวนักเรียนเองระหว่างทำวิจัยจะนั่งอยู่ที่มหาลัยหรือที่บริษัทก็ได้ แล้วแต่จะตกลง

person-flat-128x128.png

แต่มีข้อระวังนิดนึง ถ้าหากผู้เรียนตัดสินใจที่จะทำวิจัยกับบริษัทนั้น อาจจะมีข้อจำกัดเรื่องข้อมูลหรือโค้ดที่จะนำมาใช้ในการวิจัย

person-flat-128x128.png

เช่น อาจจะต้องมีการขอลิขสิทธิ์หรือจดทะเบียน IP (ทรัพย์สินทางปัญญา) เนื่องจากงานวิจัยนี้มีโอกาสที่จะนำไปพัฒนาในสินค้าและจำหน่ายในอนาคต  

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

แล้วเรียนกับบริษัท Bosch เป็นไงมั่งล่ะ

ที่บริษัท Bosch มีการจ้างพนักงานมาวิจัยในด้านต่างๆอยู่แล้ว เช่น Research Scientist หรือ Research Engineer

person-flat-128x128.png

เราก็เป็นเหมือนกับพนักงานคนนึงที่มีตำแหน่งชื่อ PhD Student ซึ่งก็จะได้สวัสดิการต่างๆเหมือนพนักงานปกติ แค่ได้เงินเดือนน้อยกว่า T_T

person-flat-128x128.png

ข้อดีของการทำกับบริษัทก็คือผมจะมีที่ปรึกษาทั้งจากมหาลัยและจากบริษัท รวมถึงมีเพื่อนๆที่ทำงานคอยให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือด้วยฮะ

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

ฟังดูดีมากๆเลย คุยมานานแล้วนายเหนื่อยยัง

นิดหน่อยฮะ แหะๆ แต่ถ้ามีคำถามเพิ่มก็คุยได้ฮะ

person-flat-128x128.png
Logo_only_image.png

งั้นวันนี้เราพอกันแค่นี้ก่อนเนอะ ขอบคุณมากที่มาช่วยแชร์ประสบการณ์ให้ฟัง

ยินดีครับ ขอบคุณเช่นกันครับผม

Logo_only_image.png

ไว้คุยกันโอกาสหน้านะ

โชคดีครับ

person-flat-128x128.png
person-flat-128x128.png

Story by

Piyapat Saranrittichai

PhD Student - Bosch Center for Artificial Intelligence

received_267561947701624.webp
bottom of page